เห็ดพายทอง [Dacryopinax Spathularia(Schwein.)G.W. Martin]

เขื่อนรัชชประภา กุ้ยหลินเมืองไทย
เขื่อนเชี่ยวหลาน กุ้ยหลินเมืองไทย ได้รับสมยานามว่า “กุ้ยหลินเมืองไทย” เพราะความสวยงามของเทือกเขาหินปูนที่เหมือนหรือสวยยิ่งกว่ากุ้ยหลินที่เมืองจีนจริงๆซะอีก เขื่อนรัชขประภาเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาสก? ตั้งอยู่ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแต่เดิมเรียกกันว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร
แหล่งท่องเที่ยวในเขื่อนเชี่ยวหลาน ได้แก่ ถ้ำปะการังถ้ำน้ำทะลุ

ข้อมูลเฉพาะ

เริ่มก่อสร้างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525

ก่อสร้างเสร็จ เดือนกันยายน พ.ศ. 2530 เปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2530

ประเภท เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว

ขนาดสันเขื่อน ความสูง 94 เมตร ความยาว 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง

มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร

ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร

อัตตราการผลิตไฟฟ้า ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า?เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลัง การผลิต 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ประโยชน์

1.การท่องเที่ยวเขื่อนรัชชประภา มีทัศนียภาพอันงดงาม ประกอบด้วยยอดเขาหินปูนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมามากมาย แถมยังมีทัศนียภาพบริเวณสันเขื่อนยังร่มรื่น ?จึงเหมาะแก่การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

2.การผลิตไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา สามารถนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มั่นคง

3.การเพาะปลูกเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในการเพาะปลูกในหน้าแล้วทำให้พื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอพุนพิน สามารถทำนาปรังได้ผลดี

4.การประมงอ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชชประภาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ เพระาทุกๆ ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้งเป็นจำนวนมากลงไปในอ่างเก็บน้ำ ทำให้กับราษฎรในพื้นที่มีรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

5.บรรเทาอุทกภัย การกักเก็บน้ำของเขื่อนในฤดูฝน จะช่วยลดความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างได้เป็นอย่างดี

6.แก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม สภาพของลำน้ำพุมดวง-ตาปี ที่มีน้ำที่มีน้ำน้อยในฤดูแล้ง ทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสียได้ง่าย ขณะเดียวกันบริเวณปากแม่น้ำจะมีน้ำเค็มรุมล้ำเข้ามาตามลำน้ำ น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนรัชชประภาจะช่วยเจือจางน้ำเสียในลำน้ำ และต้านทานการรุกล้ำของน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เที่ยวถูกใจไปกับเรา พร-ฤทธิ์ ทัวร์ เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความภูมิใจของเรา

พร-ฤทธิ์ ทัวร์
-หน้าหลัก
-การเดินทาง
-โรงแรมที่พัก
-ร้านอาหาร
-ช้อปปิ้ง
-สถานที่ท่องเที่ยว
-ประเพณีและวัฒนธรรม

เกี่ยวกับพร-ฤทธิ์ ทัวร์
-ข้อมูลพร-ฤทธิ์ ทัวร์
-เข้าสู่ระบบ/ลงทะเบียน
-แนะนำแหล่งท่องเทียว
-บทความท่องเที่ยว
-ร่วมงานกับเรา
-นโยบายและเงื่อนไข

ช่องทางสื่ออื่นๆของทางเรา
-Facebook
-Instagram
-Twitter
-Youtube
-Line