ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี

ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี
ศาลหลักเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่ช้านาน โดยการตั้งหลักเมืองนั่นได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งตามตำนานเล่าขานกันว่าจะต้องมีพิธี ฝังอาถรรพ์ บูชายันด้วยคนเป็นที่มีชื่อ อิน จัน มั่น คง รวม 4 คน เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านั่นปกปักรักษาเมือง แต่ก็ไม่ได้ปรากฏหลักฐานหรือมีการบันทึกลงในพงศวดารใดๆ นอกจากเรื่องพิธีกรรมแล้ว ต้นไม้ที่จะทำเสาหลักเมืองได้นั่น ต้องเป็นไม้มงคล เช่น ต้นชัยพฤกษ์ ต้นราชพฤกษ์ ที่มีขนาดและลักษณะถูกต้องตามตำรา โดยศาลหลักเมืองส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใจกลางเมืองหรือบริเวณที่ถือเป็นชัยภูมิสำคัญของเมืองนั่นๆ
ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ ได้รับการออกแบบจากคณะช่างจากกรมศิลปากรโดยออกแบบเป็นศิลปกรรมศรีวิชัยที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ลังกา ชวา และ เขมรผสมกลมกลืนกัน เหมือนอย่างเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเดิม โดยสร้างเพื่อความเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวสุราษฎร์ และเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชสักการะและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539

ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ องค์หลักเมืองประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก
1.ยอดเสาหลักเมือง บรรจงแกะสลักจากไม้ราชพฤกษ์ เป็นพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่หน้า เหมือนการแกะสลักพระพรหมสี่หน้า และตรงมวยพระเกศาสลักเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พร้อมกับลงรักปิดทองอย่างวิจิตรงดงาม
2.เสาหลักเมืองแกะสลักจากไม้ราชพฤกษ์เช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นเสากลมโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว ความสูง 108 นิ้ว
3.ตัวศาลสร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อมุม มณฑปสร้างเป็นเจดีย์ องค์ประธาน มียอดฉัตร 5 ชั้น ถัดลงมาเป็นหลังคาซ้อนเป็นชั้นมณฑป ลดหลั่นลงมาจำนวน 4 ชั้น แต่ละชั้นมีเจดีย์องค์บริวาร หลังคามีฐานสี่เหลี่ยมขนาดสูง 5.10 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นแบบศรีวิชัย ทาสีทอง ปั้นก่อบัวลวดลายบนกลีบขนุนทั้ง 4 ด้าน และได้อัญเชิญเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ฉลองราชสมบัติครบ 50 พรรษา ประดับไว้ทั้ง 4 ด้าน
สถาปัตยกรรมศรีวิชัยเป็นสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดจากคติธรรมความเชื่อทางพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนอาณาจักรแห่งนี้มาก่อน

ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี กับคติธรรมแฝงไว้ซึ่งดังนี้
1.องค์เจดีย์ประธาน และองค์เจดีย์บริวารน้อยใหญ่ หมายถึง การแสดงความเครารพบูชาต่อองค์พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ รวมทั้งองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่กำลังรอการปรินิพพานเป็นองค์สุดท้าย
2.ยอดเจดีย์ แต่ละองค์จะออกแบบก่อสร้างให้โปร่ง สูง เรียง จากฐานจนถึงยอดสุดที่จะต่อเชื่อเป็นฉัตร 5 ชั้น อันหมายถึงความเพียรพยายามที่จะปฎิบัติธรรม เพื่อบรรลุถึงซึ่งนิพพานธรรม
3.เจดีย์บริวาร 4 องค์ ที่ก่อสร้างจากฐานสุดจะหมายถึงพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ในความหมายทางลัทธิศาสนาพราหมณ์ จะหมายถึงพระพรหม ที่นำมาออกแบบเป็นประติมากรรมสลักไว้บริเวณยอดเสาหลักเมืองทั้ง 4 ทิศ

เที่ยวถูกใจไปกับเรา พร-ฤทธิ์ ทัวร์ เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความภูมิใจของเรา

พร-ฤทธิ์ ทัวร์
-หน้าหลัก
-การเดินทาง
-โรงแรมที่พัก
-ร้านอาหาร
-ช้อปปิ้ง
-สถานที่ท่องเที่ยว
-ประเพณีและวัฒนธรรม

เกี่ยวกับพร-ฤทธิ์ ทัวร์
-ข้อมูลพร-ฤทธิ์ ทัวร์
-เข้าสู่ระบบ/ลงทะเบียน
-แนะนำแหล่งท่องเทียว
-บทความท่องเที่ยว
-ร่วมงานกับเรา
-นโยบายและเงื่อนไข

ช่องทางสื่ออื่นๆของทางเรา
-Facebook
-Instagram
-Twitter
-Youtube
-Line