วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารหรือเรียกสั้นๆว่า ..วัดพระฐาตุไชยาฯ จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วัดพระฐาตุไชยาฯ สร้างแบบศิลปะศรีวิชัย รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์ขนาดเล็ก ๔ ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง ๔ ด้าน นอกจากนั่นแล้ว วัดพระฐาตุไชยาฯ เป็น 1 ใน 3 โบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองของภาคใต้ ได้แก่

1.พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

2.เจดีย์พระมหาธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช

3.พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา วัดพระฐาตุไชยา วัดพระบรม

ตำนานของวัดพระฐาตุไชยาฯ
ครั้งหนึ่งมีชาวอินเดียสองพี่น้อง ชื่อ ปะหมอ กับปะหมัน ทั้งสองเดินทางเข้ามาถึงเมืองไชยา โดยเรือใบและพาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมือง ในตำบลเลเม็ด เจ้าเมืองทราบว่า ปะหมอเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง จึงมอบหมายให้สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นสร้างเสร็จ เจ้าเมืองตะลึงในความงดงามของเจดีย์พระบรมธาตุไชยา เลยกลัวว่าปะหมอจะไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้อื่น จึงจับปะหมอตัดมือตัดเท้าเสีย ปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ ถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองได้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้ เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้ไปครองเกาะพัดหมัน และอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิต สถานที่ตั้งบ้านเรือนของปะหมันนั้นเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง มีนาล้อมเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ สมัยโบราณที่นี่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก คณะมโนราห์ที่เดินทางผ่านจะต้องหยุดไหว้รำร้องถวายมือ คณะใดไม่เคารพคนในคณะจะชัก หรือเกิดเหตุขัดข้องต่างๆ ถ้าใครไปตั้งคอกเลี้ยวหมูในบริเวณดังกล่าวหมูจะตายหมดทั้งคอก

ประวัติความเป็นมาของวัดพระฐาตุไชยาฯ
วัดพระฐาตุไชยาฯ เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน โดนสันนิฐานจากโบราณวัตถุที่หลงเหลืออยู่ ดังนี้

1.สมัยทวารดี (พ.ศ. 1000-1200)มีพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคน และเล็กกว่า ที่ยังหลงเหลืออยู่ในบริเวณนี้จนถึงปัจจุบัน คือ

1.1พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยสิลา ขนาดสูง 104 ซม. หน้าตักกว้าง 74 ซม. ขัดสมาธิราบ ประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหลาย พระหัตถ์ทั้งสองวางหายซ้อนกัน ขมวดพระเกศาเป็นต่อมขนาดโต อุษณีย์ปรากฏไม่ชัด ไม่มีอูรณา จีวรบางแนบพระองค์มีแต่ขอบที่ห่อหุ้มอังสะซ้าย (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา)

1.2 พระพุทธรูปประทับยืน ทำด้วยสิลา ขนาดสูง 142 ซม. ซึ่งประทับยืนบนฐานบัวลงลักปิดทองทั้งองค์ จีวรห่อคลุม ปลายจีวรตัดตรง รัดประคบมีลวดลาย ไม่มีพระรัศมี เม็ดพระเกศากลมใหญ่ (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา)

2.สมัยศรีวิชัยรุ่งเรือง (ระหว่าง พ.ศ. 1200-1500) วัดพระฐาตุไชยาฯ มีองค์เจดีย์พระมหาธาตุแบบศรีวิชัย และยังมีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่ทำด้วยสำริดขนาดใหญ่สวยงาม (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติพระนคร) และมีองค์ขนาดย่อมตลอดถึงที่ทำด้วยศิลาอีกหลายองค์ จัดได้ว่า มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มากที่สุดในประเทศไทย

3.สมัยสุโขทัย สังเกตได้จาก มีใบพัทธสีมาคู่แฝด ปรากฏอยู่รอบๆเขตพระอุโบสถเดิมของวัด และมีพุทธศิลป์เป็นแบบสกุลช่าง นครศรีธรรมราช โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์

4.สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ พระพุทธรูปศิลาทรายแดง มีมากมายหลายขนาด แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรื่องของพุทธศาสนาอย่างสูงสุด ในสถานที่แห่งนี้

5.สมัยกรุงธนบุรี ไม่มีหลักฐานชัดเจนนักเพราะศิลปะคล้ายคลึงกับสมัยกรุงศรีอยุธยา

6.สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าวัดพระบรมธาตุไชยา ได้ถูกทำลายโดยพม่าข้าศึกในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อได้มีการค้นพบและบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เมื่อครั้งดำรง สมาณศักดิ์เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆาราชาลังกาแก้ว เจ้าคณะเมืองไชยา ระหว่าง พ.ศ. 2439 ถึง 2453 การบูรณะที่สำคัญคือตกแต่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์ แล้วฉาบปูนผิวบางๆทั่วทั้งองค์พร้องทั้งเสริมยอดที่หักไป มีการสร้างพระวิหารหลวงขึ้นมาใหม่ในที่เดิมและสร้างวิหารคดรอบบริเวณล้อมองค์พระเจดีย์และพระวิหารหลวงยกพระพุทธรูปที่เกลื่อนกลาดอยู่เข้าไปประดิษฐานในพระวิหารคดเสียใหม่จนเป็นที่เรียบร้อย ปริมณฑลพระวิหารคดที่ยกขึ้นในครั้งนั้นแคบกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย

เที่ยวถูกใจไปกับเรา พร-ฤทธิ์ ทัวร์ เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความภูมิใจของเรา

พร-ฤทธิ์ ทัวร์
-หน้าหลัก
-การเดินทาง
-โรงแรมที่พัก
-ร้านอาหาร
-ช้อปปิ้ง
-สถานที่ท่องเที่ยว
-ประเพณีและวัฒนธรรม

เกี่ยวกับพร-ฤทธิ์ ทัวร์
-ข้อมูลพร-ฤทธิ์ ทัวร์
-เข้าสู่ระบบ/ลงทะเบียน
-แนะนำแหล่งท่องเทียว
-บทความท่องเที่ยว
-ร่วมงานกับเรา
-นโยบายและเงื่อนไข

ช่องทางสื่ออื่นๆของทางเรา
-Facebook
-Instagram
-Twitter
-Youtube
-Line